มาทำความรู้จักกับผลิตภัณฑ์ทางการเงินในประเทศไทยกันเถอะ

ผลิตภัณฑ์ทางการเงิน

อย่างที่ทราบกันดีว่าผลิตภัณฑ์ทางการเงินในประเทศไทยนั้นมีมากมายหลายประเภทเหลือเกิน ดังนั้น บทความนี้เราเลยจะมาลิสต์ให้ดูกันแบบคร่าวๆ ว่าผลิตภัณฑ์ทางการเงินในประเทศไทยนั้นมีอะไรกันบ้าง และแต่ละประเภทนั้นคืออะไร ได้ผลตอบแทนแบบไหน จะคุ้มหรือเปล่า เรามาหาคำตอบนั้นกันได้ที่ด้านล่างของบทความนี้เลย

มาทำความรู้จักกับผลิตภัณฑ์ทางการเงินในประเทศไทยกันเถอะ

  • ผลิตภัณฑ์ทางการเงินในประเทศไทย ประเภทที่ 1 คือ ฝากออมทรัพย์/ฝากประจำ การนำเงินของเราไปฝากไว้ที่ธนาคาร แล้วธนาคารก็จะนำเงินส่วนหนึ่ง (จริงๆก็ประมาณ 90%) ของเราไปลงทุน และแบ่งกำไรให้เราในรูปแบบของดอกเบี้ยประจำปี สภาพคล่อง: ฝากออมทรัพย์สามารถถอนเงินได้ตลอดเวลา (T+0) แต่ถ้าเป็นการฝากประจำจะถอนได้เมื่อครบกำหนดเท่านั้น เพราะฉะนั้นสภาพคล่องจะต่ำกว่าออมทรัพย์ ปัจจัยเสี่ยง: ความมั่นคงของธนาคาร เพราะอ้างอิงตาม พรบ.คุ้มครองเงินฝาก จะมีการคุ้มครองเงินแค่ 1 ล้านบาทเท่านั้น เราอาจจะสูญเสียเงินฝากได้ ผลตอบแทนคาดหวัง: น้อยกว่า 2% ต่อปี (ออมทรัพย์ทั่วไป 0.5%, ดอกเบี้ยฝากประจำขึ้นอยู่กับช่วงเวลาฝาก 3 เดือน, 6 เดือน, 1 ปี) โดยถ้าดอกเบี้ยมากกว่า 20,000 บาท จะต้องเสียภาษี 15%
  • ผลิตภัณฑ์ทางการเงินในประเทศไทย ประเภทที่ 2 คือ ตลาดเงิน ตลาดที่มีการซื้อขายตราสารทางการเงินที่มีการครบกำหนดในระยะเวลาสั้นๆ  ตลาดเหล่านี้ช่วยให้ทั้งบริษัทและรัฐบาลสามารถเอาชนะปัญหาสภาพคล่องในระยะสั้นได้ สภาพคล่อง: 1 วันหลังจากส่งคำสั่งขาย (T+1) ดีกว่าฝากประจำแต่น้อยกว่าออมทรัพย์ ปัจจัยเสี่ยง: เนื่องจากเป็นการลงทุนในเงินฝากของธนาคารต่าง ๆ ทั้งนอกและในประเทศ ตั๋วเงิน อาจจะมีความเสี่ยงจากผลกระทบของ พรบ. คุ้มครองเงินฝาก ในกรณีธนาคารล้มละลาย ผลตอบแทนคาดหวัง: เฉลี่ย 1.2-1.8% ต่อปี
  • ผลิตภัณฑ์ทางการเงินในประเทศไทย ประเภทที่ 3 คือ ตราสารหนี้/หุ้นกู้/พันธบัตร เป็นการลงทุนโดยผู้ลงทุนจะเป็นเจ้าหนี้ และผู้ออกตราสารจะเป็นลูกหนี้ หลักการก็คือเป็นการกู้เงินจากนักลงทุนไปใช้และให้ดอกเบี้ยเป็นผลตอบแทน สภาพคล่อง:  โดยทั่วไปประมาณ 2 วันหลังจากส่งคำสั่งขาย (T+2) ปัจจัยเสี่ยง: 1. อายุเฉลี่ยของตราสาร 2. ความน่าเชื่อถือของผู้ออกตราสาร 3. การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยของธนาคาร ผลตอบแทนคาดหวัง: เฉลี่ย 2-5% ต่อปี

และทั้งหมดนี้ก็คือ ผลิตภัณฑ์ทางการเงินในประเทศไทยที่เรานำมาฝากกันในบทความนี้นั่นเอง ทั้งนี้ทางเราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าข้อมูลความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ทางการเงินในประเทศไทยเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านไม่มากก็น้อยนะ